วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพรชบูรณ์



อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ


ไฟล์:ศรีเทพ02.jpg

           อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ศรีเทพเป็นเมืองโบราณที่อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" เมื่อปี พ.ศ. 2447-2448 เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 2 รางวัลคือ รางวัลประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยมและรางวัลสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านอินเทอร์เน็ตดีเด่น

ไฟล์:ศรีเทพ01.jpg

 

สถานที่ตั้ง

เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 107 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอวิเชียรบุรีประมาณ 25 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณสองพันไร่เศษ มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบ และมีคูเมืองนอกกำแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในเมืองมีปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมืองออกไปมีสระน้ำสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ ในสมัยก่อนเมืองศรีเทพต้องส่งส่วยน้ำจากสระทั้งสองนี้ เพื่อนำไปใช้ทำน้ำพิพัฒยสัตยา เพราะถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์

การสำรวจทางโบราณคดี

กรมศิลปากรได้ดำเนินการ สำรวจ ขุดค้น ศึกษา และพัฒนาบรรดาโบราณสถานและโบราณวัตถุในเมืองศรีเทพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยทำการการบูรณะ และบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างให้มั่นคงถาวร

ไฟล์:ศรีเทพ04.jpg


โบราณสถานและสถานที่สำคัญ

 ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ

อยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านขวามือ ศาลเจ้าพ่อศรีเทพไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3)

ปรางค์ศรีเทพ

เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่ว ๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย

 สระแก้วสระขวัญ

สระแก้วจะอยู่นอกเมืองไปทิศเหนือ ส่วนสระขวัญจะอยู่ในบริเวณเมืองส่วนนอก สระน้ำทั้งสองสระนี้มีน้ำขังตลอดปี และเชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการนำน้ำทั้งสองสระนี้ไปทำน้ำพิพัฒน์สัตยา ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน

โบราณสถานเขาคลังใน

เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว โบราณสถานบ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี จะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมือง ลักษณะทางผังเมืองจะคล้ายกับเมืองทวารวดีอื่น ๆ เช่น เมืองนครปฐมโบราณ เมืองคูบัวที่ราชบุรี และจากรายละเอียดปูนปั้นบุคคลหรือลวดลาย แบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูคล้าย

 ปรางค์สองพี่น้อง

ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวและจากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ระหว่างองค์ปรางค์ทั้งสองแห่งคือปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพจะมีกำแพงล้อมรอบ และมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผัง ในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย

อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี

จัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูกช้างที่ได้ขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. 2531

โบราณสถานอื่นๆ

นอกจากโบราณสถานหลักแล้วยังมีโบราณสถานย่อย ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ทิศใต้ของเขาคลังใน พบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลง พบใบเสมาหินบริเวณใกล้หลุมขุดค้น และพบโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี ซึ่งได้มีการก่อสร้างทับในระยะที่รับเอาศาสนาพราหมณ์เข้ามา จึงเห็นได้ว่าบริเวณเมืองชั้นในเดิมน่าจะเป็นเมืองแบบทวารวดีและมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรในระยะหลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางทิศใต้ยังพบอาคารมณฑปแบบทวารวดีขนาดใหญ่ และมีการพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นเทวาลัยประมาณต้นศตวรรษที่ 18 แต่ไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ

การเดินทาง

การเดินทาง เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 130 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 21 (เฉลิมพระเกียรติ-หล่มสัก) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 102 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2211 ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตรจะเห็นป้ายบอกทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่ด้านขวามือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00–16.30 น. โทร. 0-56921-322, 0-56921-354
จากกรุงเทพเมื่อมาถึงสามแยกพุแคให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 21 (เฉลิมพระเกียรติ-หล่มสัก) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 102 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2211 ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตรจะเห็นป้ายบอกทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่ด้านขวามือ


วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ขึ้น ภูทับเบิก เพชรบูรณ์ ชมวิวทะเลภูเขา

ขึ้น ภูทับเบิก เพชรบูรณ์ ชมวิวทะเลภูเขา

ภูทับเบิก

ภูทับเบิก

ภูทับเบิก


          สายลมเย็น ๆ พัดเอื่อย ๆ ชวนให้นึกถึงภาพบรรยากาศทิวเขาสูงซับซ้อน ทอดตัวยาวสุดลูกหูลูกตา แหม ๆ ๆ ว่าแล้วเราก็นำพาตัวเองไปสัมผัสความรื่นรมย์ที่ว่ากันดีกว่า และ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่จะไป ท่องเที่ยว ก็คือ "ภูทับเบิก" จังหวัดเพชรบูรณ์ นั่นแน่! อยากไปเที่ยวแล้วใช่มั้ย ตามเข้ามาเลยค่ะ...

          ภูทับเบิก เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล ห่างจากอำเภอหล่มเก่า 40 กิโลเมตร ตามเส้นทางจากหล่มเก่าไปภูหินร่องกล้า หรือห่างจากตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 90 กิโลเมตร ภูทับเบิก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดของเพชรบูรณ์ มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามด้วยธรรมชาติแบบทะเลภูเขา มีอากาศบริสุทธิ์ สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากร่องลมเย็นจากเทือกเขาหิมาลัยและอยู่บนที่สูง จึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยช่วงเช้าจะมองเห็นกลุ่มเมฆ และทะเลหมอกตัดกับยอดเทือกเขาเพชรบูรณ์  


ภูทับเบิก

            นอกจากนี้ ภูทับเบิก ยังเป็นสถานที่ที่สำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ คือเป็นจุดรองรับน้ำฟ้ากลางหาว (เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542) เพื่อนำไปรวมเป็นน้ำเพชรน้อมเกล้า ถวายเป็นน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542

          ปัจจุบัน ภูทับเบิก เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ซึ่งได้อพยพมาอาศัยอยู่ที่บ้านทับเบิก หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 16 โดยอยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยอาชีพทำการเกษตรแบบขั้นบันไดตามเชิงเขา ในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะพบเห็นไร่กะหล่ำปลีอยู่สองข้างถนนสู่ทับเบิกสวยงาม ในราวเดือนธันวาคม-มกราคม จะมี ดอกซากุระ หรือ นางพญาเสือโครง สีชมพูบานสะพรั่งไปทั้งภูเขา


ภูทับเบิก

            นอกจากนี้ ในยามค่ำคืนยังมองเห็นแสงไฟระยิบระยับจากบ้านเรือนในอำเภอหล่มสัก ที่อยู่เบื้องล่าง เปรียบได้กับ "ดาวบนดิน" จากสภาพดังกล่าว ทำให้ภูทับเบิกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวที่นิยมสัมผัสบรรยากาศที่หนาวเย็น วิถีชีวิตชาวเขา และแหล่งธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ภายใต้คำกล่าวที่ว่า "นอนทับเบิก สัมผัสความหนาว ดูดาวบนดิน" โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณหมู่บ้านทับเบิกและจุดชมวิว มีบ้านพัก เต็นท์ และร้านอาหารเปิดบริการแก่นักท่องเที่ยว                        



วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

อำเภอหล่มสัก, เพชรบูรณ์

 
อำเภอหล่มสัก, เพชรบูรณ์
 

ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกพ่อขุนผาเมือง (สี่แยกหล่มสัก)  บ้านน้ำชุน อยู่ห่างจากที่ว่าการอ.หล่มสักประมาณ 3 กม. พระรูปทำด้วยโลหะ ประดิษฐานในอิริยาบทยืนพระหัตถ์ขวาทรงดาบปักลงดิน พระหัตถ์ซ้ายชี้ลงพื้น
พ่อขุนผาเมือง (เจ้าเมืองราด) ผู้ทรงร่วมสถาปนาราชอาณาจักรสุโขทัยเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 1800 ได้ทรงร่วมือกับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยางพระสหายนำไพร่พลทำสงครามขจัดอำนาจการปกครองของขอมให้พ้นจากดินแดนสุโขทัย และได้ทรงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาว ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ถวายพระนามว่า "ศรีอินทรบดีทราทิตย์" อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นที่สักการะของชาวเพชรบูรณ์และผู้เดินทางผ่านไปมาบนเส้นทางนี้
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
 อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง 
ท่องเที่ยว
 
------------------------------------------------------------------
บนทางหลวงหมายเลข 21 บริเวณกม.ที่ 251-252 อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ราว 36 กม. มีทางราดยางแยกเข้าไป 4 กม. ปากทางมีป้ายบอกทางเข้าถ้ำสมบัติ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการนำเอาทองคำแท่งจำนวนมากจากกระทรวงการคลังมาเก็บซ่อนไว้ในถ้ำนี้ แต่ปัจจุบันได้ขนย้ายออกไปหมดแล้ว การเข้าชมภายในถ้ำควรมีไฟฉายหรือตะเกียงนำมาด้วย
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
 ภายในถ้ำฤาษีสมบัติ 
ท่องเที่ยว
 
------------------------------------------------------------------
ตั้งอยู่ที่สี่แยกบุ่งน้ำเต้า ต.บุ่งน้ำเต้า หลักเมืองนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2487 เป็นหลักเมืองที่ทำด้วยซีเมนต์ พณฯ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เป็นประธานทำพิธีฝังหลักเมืองเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2487
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปถ้ำฤาษีสมบัติแต่อยู่ทางแยกขวามือปากทางเข้าสนามบินเพชรบูรณ์
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
 เสาหลักเมืองเพชรบูรณ์ ที่อำเภอหล่มเก่า 
ท่องเที่ยว
 

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หนองแม่นา)

อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หนองแม่นา)


ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หนองแม่นา)


  • หน่วยจัดการอุทยานแห่งชฃาติทุ่งแสลงหลวงที่ 1 (หนองแม่นา) มีที่ทำการอุทยานฯ อยู่ที่ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นสาขาย่อยรองจาก ที่ทำการสำนักงานใหญ่ (กม. 80) ซึ่งอุทยานแห่งชาติ ทุ่งแสลงหลวงมีเนื้อที่ทั้งหมด 789,000 ไร่ หรือประมาณ 1,262.55 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังทอง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อำเภอหล่มสัก อำเภอชนแดน อำเภอเมือง อำเภอเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอน 101 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2518 จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ นับเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ
  • สภาพทางหลวงหมายเลข 2196  มีป้ายบอกสถานที่ท่องเที่ยวตลอดทั้งสาย
  • สภาพภูมิประเทศทั่วไป มีลักษณะเป็นภูเขาคล้ายหลังเต่าสูง ๆ ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขา หินปูนทอดเป็นแนวยาวเหนือใต้ ตอนกลาง ประกอบด้วยเทือกเขาสูงหลายแห่ง มีจุดสูงสุด คือบริเวณเขาแค สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,028 เมตร อันเป็น ต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยเข็กใหญ่ ห้วยเข็กน้อย ลำน้ำทุ้ม คลองชมพู และคลองวังทอง มีสภาพธรรมชาติ ทิวทัศน์ และเอกลักษณ์ ทางธรรมชาติ ที่สวยงามอันเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ แบบสะวันนาสลับป่าสน และป่าดิบชื้น ที่สมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งของประเทศไทย
  • ลักษณะภูมิอากาศ
    • ในระหว่างเดือน มีนาคม - มิถุนายน ของทุกปี เป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 29 องศาเซลเซียส ฤดูฝนจะอยู่ในช่วงเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นมาก
    พันธุ์ไม้ และสัตว์ป่า
    สภาพทางหลวงหมายเลข 2196  มีป้ายบอกสถานที่ท่องเที่ยวตลอดทั้งสาย
  • สภาพป่าประกอบด้วยป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเต็งรง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า ขึ้นสลับกันเป็นชั้น ๆ ตามความสูง ของภูเขา และความชื้นของผิวดินบางบริเวณ สามารถมองเห็นความแตกต่างของพันธุ์ไม้ ได้อย่างชัดเจน พรรมไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สน 2 ใบ ก่อ บาง ตะเคียน มะม่วงป่า แดงน้ำ มะค่า สัก เก็ดแดง เก็ดดำ ประดู่ นอกจากนี้ยังมีพรรมไม้ ที่หายาก เช่น เสม็ดแดง ที่ขึ้นตามป่าผุ แต่กลับมาขึ้นในป่าดิบชื้น ต้นค้อ เป็นชื่อที่ใช้เรียกชื่อเขาค้อ ปัจจุบันหาดูได้ยาก เพราะถูกทำลายไปมาก สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ช้าง เสือ เก้ง กวาง ลิง ค่า หมู่ป่า กระต่าย กระรอก และนกนานาชนิด

  • สภาพทางหลวงหมายเลข 2196  มีป้ายบอกสถานที่ท่องเที่ยวตลอดทั้งสาย
    การเดินทางสู่หน่วยจัดการอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงที่ 1 (หนองแม่นา) สามารถเดินทางได้ดังนี้
    • จากจังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 21 (ไปอำเภอหล่มสัก ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร ถึงบ้านนางั่ว เลี้ยวซ้าย ที่สามแยกนางั่ว ทางหลวงหมายเลข 2258 ขึ้นเขาค้อผ่านสี่แยกบ้านสะเดาพงษ์ ผ่านพระตำหนักเขาค้อ ตรงไปจนถึง บ้านทานตะวันเลี้ยวขวาตามทางไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงหน่วยจัดการ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงที่ 1 (หนองแม่นา)
    • จากจังหวัดพิษณุโลก ใช้ทางหลวงหมายเลข 12 สาย พิษณุโลก-หล่มสัก ประมาณ 100 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่สามแยกแคมป์สน เข้าสู่เขาค้อ ผ่านหน้าอำเภอเขาค้อ ถึงสี่แยก บ้านสะเดาพงษ์ เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2258 ผ่านพระตำหนัก เขาค้อ ตรงไปจนถึงบ้านทานตะวัน เลี้ยวขวาตามทางลูกรังประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงหน่วยจัดการอุทยานแห่งชาติ ทุ่งแสลงหลวงที่ 1 (หนองแม่นา)