วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มนต์เสน่ห์.....เขาค้อ

 
มนต์เสน่ห์.....เขาค้อ

เขาค้อ

เขาค้อ

เขาค้อ

เขาค้อ

เขาค้อ

เขาค้อ

เขาค้อ
เขาค้อ

เขาค้อ

เขาค้อ


          เคยมีคนบอกไว้ว่า... หากเราคิดจะไปท่องเที่ยวที่ไหนสักที่ ก็ต้องเช็คสภาพภูมิอากาศให้ดีเสียก่อน ว่าเป็นฤดูกาลที่เหมาะแก่การจะไปท่องเที่ยวที่แห่งนั้นได้หรือไม่ เพราะสถานที่ท่องเที่ยวบางที่ก็ไม่เหมาะจะไปเที่ยวในฤดูร้อน แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งก็อาจไม่เหมาะแก่การเดินทางไปท่องเที่ยวในฤดูฝนหรือฤดูหนาว (ถูกต้อง...เพราะฉะนั้นจึงต้องเช็คให้ดีๆ) เอ... แต่ถ้าวันว่างของเรามันไม่เลือกฤดูกาลล่ะ จะไปเที่ยวไหนกันดี...?   
เขาค้อ

เขาค้อ

          แทน แท่น แท้น... วันนี้เรามีสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาลมาฝาก นั่นก็คือ... "เขาค้อ" แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ เหตุที่เรียกกันว่า "เขาค้อ" เพราะป่าบริเวณนี้เดิมมีต้นค้อซึ่งเป็นไม้ตระกูลปาล์มขึ้นอยู่มาก สำหรับสภาพภูมิอากาศบนเขาค้อนั้นจะเย็นสบายสดชื่นตลอดทั้งปีแม้ในฤดูร้อน และค่อนข้างเย็นจัดในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 18 - 25 องศาเซลเซียสเท่านั้น (ว้าว...) นอกจากนี้ ยังมีทัศนียภาพที่สวยงาม และเป็นแหล่งชมทะเลหมอกที่สวยมากอีกด้วย
เขาค้อ

          อย่างไรก็ตาม บนเขาค้อมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น "อนุสาวรีย์จีนฮ่อ" อนุสาวรีย์ทหารอาสาจากหน่วยรบกองพลที่ 93 ซึ่งมาช่วยรบในพื้นที่เขาค้อ และเสียชีวิตในการสู้รบ ตั้งอยู่เลยกิโลเมตรที่ 23 ของทางหลวงหมายเลข 2196 ไปเล็กน้อย
เขาค้อ

เขาค้อ

          "ฐานอิทธิ" (พิพิธภัณฑ์อาวุธ) อยู่เลยกิโลเมตรที่ 28 ทางหลวงหมายเลข 2196 (ไปเล็กน้อย แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2323 ไปประมาณ 3 กิโลเมตร) เป็นจุดหนึ่งที่เห็นทิวทัศน์สวยงามและเคยเป็นฐานสำคัญทางยุทธศาสตร์ในอดีต ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อาวุธ จัดแสดงปืนใหญ่ ซากรถถัง และอาวุธที่ใช้สู้รบกันบนเขาค้อ มีห้องบรรยายสรุปแก่ผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวัน ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท
เขาค้อ

          "อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ" อยู่บนยอดเขาสูงสุดของเขาค้อ อยู่เลยฐานอิทธิไปอีก 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของพลเรือน ทหาร ตำรวจ ทหาร ผู้พลีชีพในการสู้รบเพื่อปกป้องพื้นที่ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 - 2525 โดยสร้างด้วยหินอ่อนเป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 24 เมตร หมายถึง การปฏิบัติการร่วมกันระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหารในปี พ.ศ. 2524 ผนังภายในบันทึกประวัติอนุสรณ์สถานและรายชื่อวีรชนผู้เสียสละไว้ด้วย ส่วนการเดินทางให้ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2196 ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 28 ไปเล็กน้อย มีทางแยกขวาไปเส้นทางหมายเลข 2323 ประมาณ 3 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 31 กิโลเมตร

          "พระบรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษก" ตั้งอยู่บนยอดเขาค้อ ติดกับสำนักสงฆ์วิชมัยปุญญาราม ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เจดีย์แห่งนี้ชาวเพชรบูรณ์สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา จะมีประชาชนเดินทางมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทำพิธีเวียนเทียนเป็นประจำ
เขาค้อ

เขาค้อ

          "หอสมุดนานาชาติเขาค้อ" ตั้งอยู่ที่เดียวกับเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ เป็นหอสมุดขนาดใหญ่ออกแบบเป็นรูปเพชรคว่ำ สร้างด้วยกระจกสะท้อนแสง ภายในเก็บรักษาหนังสือทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในเดือนธันวาคมของทุกปีจะมีการจัดงาน "วันนัดพบเอกอัครราชทูต ณ เขาค้อ" โดยเชิญเอกอัครราชทูตจากประเทศต่างๆ มาร่วมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมของจังหวัด

          "เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุเขาค้อ" ตั้งอยู่บนยอดเขาติดกับหอสมุดนานาชาติเขาค้อ บ้านกองเนียม หมู่ที่ 4 ตำบลเขาค้อ ที่ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เจดีย์แห่งนี้ชาวเพชรบูรณ์สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองราชย์ 50 ปี และเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน ในวันสำคัญทางศาสนาจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมกันประกอบพิธีทางศาสนา เช่น พิธีเวียนเทียน
เขาค้อ

          "พระตำหนักเขาค้อ" ตั้งอยู่บนเขาย่า พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรงานโครงการในพระราชดำริ และทรงตรวจเยี่ยมราษฎรอำเภอเขาค้อและอำเภอใกล้เคียง เป็นอาคารคอนกรีตครึ่งวงกลมมีทั้งหมด 15 ห้อง รูปทรงแปลกตาไปจากพระตำหนักอื่น สามารถขออนุญาตเจ้าหน้าที่เข้าชมบริเวณโดยรอบพระตำหนักได้ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2196 พอถึงประมาณกิโลเมตรที่ 29 ให้ไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร มีทางแยกด้านซ้ายไปพระตำหนัก ทางขึ้นเขาค้อค่อนข้างสูงชัน รถยนต์ควรมีสภาพดี และกำลังเครื่องยนต์สูง เพราะฉะนั้นควรเช็คสภาพรถยนต์ก่อนทุกครั้งนะคะ

          อย่างไรก็ตาม ที่เขาค้อยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและน่าเที่ยวอีกมากมาย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ 0-5672-1733
เขาค้อ

เขาค้อ

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

"อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว" จ.เพชรบูรณ์

สัมผัสอากาศเย็นๆ ในฤดูฝนที่ "อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว" จ.เพชรบูรณ์

ช่วงฤดูฝนนี้เป็นช่วงที่หาที่พักผ่อนที่เที่ยวลำบากนิดนึง เพราะกลัวเรื่องฟ้าฝน วันนี้เราจะพาไปเที่ยวนอนรับอากาศเย็นๆ แบบไม่ต้องเปิดแอร์เลย ที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์


อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อยู่ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอคอนสาน จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวเขตกั้นระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 966 ตารางกิโลเมตร หรือ 603,750 ไร่



คราวนี้เราจะพาไปพักผ่อนคลายเครียดการทำงาน กับบรรยากาศสบายๆ กับบ้านพักของอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เริ่มด้วยการออกเดินทางในช่วงเช้ามืดของวันแรกของการเดินทางใช้ระยะเวลา ประมาณ 5 ชั่วโมงจาก กรุงเทพฯ

พอไปถึงที่อุทยานก็ไปติดต่อเรื่องที่พัก ซึ่งเราได้จองไว้ล่วงหน้าแล้วทางเว็บไซต์ของ อุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้รับความสะดวกอย่างมาก ที่นั่นมีอาหารการกินสะดวกพอสมควรเลยล่ะ

ถ้ำใหญ่น้ำหนาว ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 60 ทางหลวงสายบ้านห้วสนามทราย - อำเภอหล่มเก่า บ้านหินลาด มีทางลูกรัง รถยนต์เข้าถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

ถ้ำใหญ่ถ้ำน้ำหนาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเขาหินปูนสูงประมาณ 955 เมตร ทำให้เกิดเป็นถ้ำน้ำหนาว เป็นถ้ำใหญ่มีความงามวิจิตรพิสดารโดยธรรมชาติ มี หินงอกหินย้อย และที่แปลกที่สุดคือ มีน้ำไหลหรือน้ำรินออกจากปากถ้ำ ภายในถ้ำยังเป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมากอีกด้วย

และยังมีสถานที่ใกล้เคียงที่น่าไปอีกมากมาย ได้แก่ จุดชมทิวทัศน์ถ้ำผาหงษ์ จุดชมทิวทัศน์ภูค้อ น้ำตกตาดพรานบา น้ำตกทรายทอง น้ำตกเหวทราย ป่าเปลี่ยนสี ผาล้อมผากอง ภูผาจิต สวนสนบ้านแปก สวนสนภูกุ่มข้าว

การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว สามารถเดินทางได้ดังนี้

ทางรถยนต์


- ที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น 103 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอหล่มสักประมาณ 55 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ตามทางหลวงหมายเลข 12 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 50 มีป้ายชี้ทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติซึ่งเป็นทางลูกรัง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร



ทางรถประจำทาง

- สามารถขึ้นรถจากขอนแก่นหรือหล่มสัก ซึ่งผ่านหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ทุกวัน

ข้อมูลทั่วไป จังหวัด เพชรบูรณ์



ข้อมูลทั่วไป จังหวัด เพชรบูรณ์

คำขวัญ ประจำจังหวัดเมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง

จังหวัด เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างแวดล้อมไปด้วยพื้นที่ป่าเขาเขียวขจี ภูมิประเทศมีทัศนียภาพสวยงามไม่ว่าจะเป็นเขาค้อหรืออุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจคือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพซึ่งได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยม รวมไปถึงอาหารขึ้นชื่ออย่างไก่ย่างวิเชียรบุรี ขนมจีนหล่มเก่าและผลไม้ยอดนิยมของจังหวัด คือ มะขามหวานเมืองเพชรและลูกเสาวรส

เมืองเพชรบูรณ์นี้สันนิษฐานว่า สร้างมา 2 ยุค ยุคแรกสมัยสุโขทัยหรือพิษณุโลกเป็นเมืองหลวงสังเกตตามแนวกำแพงเมือง ซึ่งเอาลำน้ำไว้กลางเมือง และยุคสองสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีป้อมและกำแพงก่อด้วยอิฐปนศิลา สัณฐานคล้ายเมืองนครราชสีมาแต่เล็กและเตี้ยกว่า เอาแม่น้ำไว้กลางเมืองเหมือนกัน เมืองเพชรบูรณ์ที่สร้างทั้งสองยุคนี้สำหรับป้องกันข้าศึกซึ่งจะยกทัพมาจาก ฝ่ายเหนือ เพชรบูรณ์เดิมมีชื่อว่า "เพชรบุร" หรือ "พืชปุระ" อันหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 346 กิโลเมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 114 เมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มแบบท้องกะทะ พื้นที่ของจังหวัดมีลักษณะลาดชันจากทิศเหนือไปใต้ ตอนเหนือเป็นทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นที่ราบ ขนาบด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำป่าสัก การปกครอง จังหวัดเพชรบูรณ์มีเนื้อที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอชนแดน อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอวังโป่ง อำเภอน้ำหนาว และอำเภอเขาค้อ

ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์ เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดสระบุรีเลยไปจนถึงสวนพฤกษศาสตร์พุแค ตรงกิโลเมตรที่ 125 แยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านอำเภอชัยบาดาล อำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี ต่อไปอีกประมาณ 221 กิโลเมตร ถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมระยะทางประมาณ 346 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1ถนนพหลโยธิน ถึงอำเภอวังน้อยแล้วแยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 117 ตรงเข้าจังหวัดพิษณุโลก จากนั้นใช้ทางหมายเลข 12เส้นพิษณุโลก-หล่มสัก ผ่านเขาค้อ-หล่มสัก เข้าจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมระยะทาง 547 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดากรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์-หล่มสัก ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2936 2852–66 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1581 นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 1 ในเส้นทางเดียวกัน ได้แก่ เพชรทัวร์ โทร. 0 2936 3230 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 2818 และถิ่นสยามทัวร์ โทร. 0 2936 0500, 0 2513 9077 (จากกรุงเทพฯ มีรถประมาณ 8 เที่ยวตั้งแต่เวลา 09.30 น.- 23.30 น.) สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1913 สาขาหล่มสัก โทร. 0 5670 1613 (จากหล่มสักมีรถประมาณ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 08.30 น. - 24.00 น.)

-วัฒนธรรมประเพณี
ประเพณีบุญบั้งไฟเดือนหกและผีตาโม่
เป็นงานเทศกาลบุญบั้งไฟขอฝนและผีตา โม่ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยโบราณที่มีประวัติยาวนานของผู้คนในท้องถิ่น ของอำเภอหล่มเก่า เป็นผีที่คอยสิงสถิตอยู่ตามบ้านเรือน ป่าเขาลำเนาไพร ชาวบ้านที่บ้านนาทรายจึงได้จัดขบวนแห่ผีตาโม่ขึ้นในเทศกาลบุญบั้งไฟเดือนหก เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล อันจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
เทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ
เทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง จัดขึ้นที่ อ.หล่มสัก เป็นเทศกาลประจำปีจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม เพื่อเคารพสักการะเผยแพร่ประวัติเกียรติคุณของพ่อขุนผาเมือง ปุชนียบุคคลของชาติไทย และเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการเส็งกลอง และการล่องโคมไฟของชาวอำเภอหล่มสักให้ดำรงสืบกิจกรรมภายในงานได้แก่ พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพ่อขุนผาเมือง การแข่งขันเส็งกลอง การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งพ่อขุนผาเมือง เป็นต้น
ประเพณีการเส็งกลอง ล่องโคมไฟ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก ซึ่งมีมาแต่โบราณ มักนิยมเล่นในช่วงเทศการลเข้าพรรษา-ออกพรรษา (การเส็งกลองคือการตีกลอง) ซึ่งมีการเส็งกลอง 2 ลักษณะ คือ การเส็งกลองร่วมกับงานบุญบั้งไฟ โดยเชื่อว่าการเส็งกลอง เป็นการเชิญเทวดา มนุษย์โลก และภูตผีมาร่วมทำบุญบั้งไฟโดยพร้อมเพรียงกัน อีกลักษณะจะเป็นการนัดหมายช่างตามหมู่บ้านต่างๆให้นำกลองมาเส็งแข่งกัน เพื่อประกวดในเรื่อง "ความดัง" กลองที่ตีได้เส้งดังที่สุด คือ มีเสียงทุ้มกลาง แหลม ครบถ้วน จะเป็นผู้ขนะการแข่งขัน ส่วนประเพณีการล่องโคมไฟ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นกันในวันออกพรรษาซึ่งเชื่อว่าหลังพระพุทธ เจ้าได้จำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครบ 3 เดือนแล้ว จึงได้ขึ้นไปเทศนาให้พระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต และลงมาเทศน์โปรดมนุษย์โลกและเมืองบาดาล ซึ่งเป็นที่พอใจของพญานาคยิ่งนัก พญานาคจึงถวายพั่งไฟพญานาค เพื่อเป็นการสักการะพระพุทธองค์ร่วมกับพญานาค และเป็นการส่งเคราะห์ร้าย รวมทั้งเป็นการขอขมาแม่พระคงคาด้วย ส่วนโคมไดหรือโดมลมที่ลอยขึ้นไปในอากาศจะเป็นการบูชาเทวดา

งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

จัดในช่วงเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ชาวเมืองเพชรบูรณ์จะมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดไปรอบเมืองจนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาดำลงไปในน้ำและโผล่ขึ้นมา ทำเช่นนี้จนครบทั้ง 4 ทิศ ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด หากปีใดไม่ได้กระทำพิธีอุ้มพระดำน้ำเชื่อกันว่าปีนั้นจะเกิดฝนแล้ง