ข้อมูลทั่วไป จังหวัด เพชรบูรณ์
คำขวัญ ประจำจังหวัดเมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง
|
จังหวัด เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างแวดล้อมไปด้วยพื้นที่ป่าเขาเขียวขจี ภูมิประเทศมีทัศนียภาพสวยงามไม่ว่าจะเป็นเขาค้อหรืออุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจคือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพซึ่งได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยม รวมไปถึงอาหารขึ้นชื่ออย่างไก่ย่างวิเชียรบุรี ขนมจีนหล่มเก่าและผลไม้ยอดนิยมของจังหวัด คือ มะขามหวานเมืองเพชรและลูกเสาวรส
เมืองเพชรบูรณ์นี้สันนิษฐานว่า สร้างมา 2 ยุค ยุคแรกสมัยสุโขทัยหรือพิษณุโลกเป็นเมืองหลวงสังเกตตามแนวกำแพงเมือง ซึ่งเอาลำน้ำไว้กลางเมือง และยุคสองสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีป้อมและกำแพงก่อด้วยอิฐปนศิลา สัณฐานคล้ายเมืองนครราชสีมาแต่เล็กและเตี้ยกว่า เอาแม่น้ำไว้กลางเมืองเหมือนกัน เมืองเพชรบูรณ์ที่สร้างทั้งสองยุคนี้สำหรับป้องกันข้าศึกซึ่งจะยกทัพมาจาก ฝ่ายเหนือ เพชรบูรณ์เดิมมีชื่อว่า "เพชรบุร" หรือ "พืชปุระ" อันหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 346 กิโลเมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 114 เมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มแบบท้องกะทะ พื้นที่ของจังหวัดมีลักษณะลาดชันจากทิศเหนือไปใต้ ตอนเหนือเป็นทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นที่ราบ ขนาบด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำป่าสัก การปกครอง จังหวัดเพชรบูรณ์มีเนื้อที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอชนแดน อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอวังโป่ง อำเภอน้ำหนาว และอำเภอเขาค้อ
ข้อมูลการเดินทาง
เมืองเพชรบูรณ์นี้สันนิษฐานว่า สร้างมา 2 ยุค ยุคแรกสมัยสุโขทัยหรือพิษณุโลกเป็นเมืองหลวงสังเกตตามแนวกำแพงเมือง ซึ่งเอาลำน้ำไว้กลางเมือง และยุคสองสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีป้อมและกำแพงก่อด้วยอิฐปนศิลา สัณฐานคล้ายเมืองนครราชสีมาแต่เล็กและเตี้ยกว่า เอาแม่น้ำไว้กลางเมืองเหมือนกัน เมืองเพชรบูรณ์ที่สร้างทั้งสองยุคนี้สำหรับป้องกันข้าศึกซึ่งจะยกทัพมาจาก ฝ่ายเหนือ เพชรบูรณ์เดิมมีชื่อว่า "เพชรบุร" หรือ "พืชปุระ" อันหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 346 กิโลเมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 114 เมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มแบบท้องกะทะ พื้นที่ของจังหวัดมีลักษณะลาดชันจากทิศเหนือไปใต้ ตอนเหนือเป็นทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นที่ราบ ขนาบด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำป่าสัก การปกครอง จังหวัดเพชรบูรณ์มีเนื้อที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอชนแดน อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอวังโป่ง อำเภอน้ำหนาว และอำเภอเขาค้อ
ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์ เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดสระบุรีเลยไปจนถึงสวนพฤกษศาสตร์พุแค ตรงกิโลเมตรที่ 125 แยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านอำเภอชัยบาดาล อำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี ต่อไปอีกประมาณ 221 กิโลเมตร ถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมระยะทางประมาณ 346 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1ถนนพหลโยธิน ถึงอำเภอวังน้อยแล้วแยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 117 ตรงเข้าจังหวัดพิษณุโลก จากนั้นใช้ทางหมายเลข 12เส้นพิษณุโลก-หล่มสัก ผ่านเขาค้อ-หล่มสัก เข้าจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมระยะทาง 547 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดากรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์-หล่มสัก ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2936 2852–66 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1581 นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 1 ในเส้นทางเดียวกัน ได้แก่ เพชรทัวร์ โทร. 0 2936 3230 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 2818 และถิ่นสยามทัวร์ โทร. 0 2936 0500, 0 2513 9077 (จากกรุงเทพฯ มีรถประมาณ 8 เที่ยวตั้งแต่เวลา 09.30 น.- 23.30 น.) สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1913 สาขาหล่มสัก โทร. 0 5670 1613 (จากหล่มสักมีรถประมาณ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 08.30 น. - 24.00 น.)
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดากรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์-หล่มสัก ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2936 2852–66 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1581 นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 1 ในเส้นทางเดียวกัน ได้แก่ เพชรทัวร์ โทร. 0 2936 3230 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 2818 และถิ่นสยามทัวร์ โทร. 0 2936 0500, 0 2513 9077 (จากกรุงเทพฯ มีรถประมาณ 8 เที่ยวตั้งแต่เวลา 09.30 น.- 23.30 น.) สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1913 สาขาหล่มสัก โทร. 0 5670 1613 (จากหล่มสักมีรถประมาณ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 08.30 น. - 24.00 น.)
-วัฒนธรรมประเพณี
ประเพณีบุญบั้งไฟเดือนหกและผีตาโม่
เป็นงานเทศกาลบุญบั้งไฟขอฝนและผีตา โม่ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยโบราณที่มีประวัติยาวนานของผู้คนในท้องถิ่น ของอำเภอหล่มเก่า เป็นผีที่คอยสิงสถิตอยู่ตามบ้านเรือน ป่าเขาลำเนาไพร ชาวบ้านที่บ้านนาทรายจึงได้จัดขบวนแห่ผีตาโม่ขึ้นในเทศกาลบุญบั้งไฟเดือนหก เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล อันจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
ประเพณีบุญบั้งไฟเดือนหกและผีตาโม่
เป็นงานเทศกาลบุญบั้งไฟขอฝนและผีตา โม่ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยโบราณที่มีประวัติยาวนานของผู้คนในท้องถิ่น ของอำเภอหล่มเก่า เป็นผีที่คอยสิงสถิตอยู่ตามบ้านเรือน ป่าเขาลำเนาไพร ชาวบ้านที่บ้านนาทรายจึงได้จัดขบวนแห่ผีตาโม่ขึ้นในเทศกาลบุญบั้งไฟเดือนหก เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล อันจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
เทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ
เทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง จัดขึ้นที่ อ.หล่มสัก เป็นเทศกาลประจำปีจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม เพื่อเคารพสักการะเผยแพร่ประวัติเกียรติคุณของพ่อขุนผาเมือง ปุชนียบุคคลของชาติไทย และเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการเส็งกลอง และการล่องโคมไฟของชาวอำเภอหล่มสักให้ดำรงสืบกิจกรรมภายในงานได้แก่ พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพ่อขุนผาเมือง การแข่งขันเส็งกลอง การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งพ่อขุนผาเมือง เป็นต้น
ประเพณีการเส็งกลอง ล่องโคมไฟ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก ซึ่งมีมาแต่โบราณ มักนิยมเล่นในช่วงเทศการลเข้าพรรษา-ออกพรรษา (การเส็งกลองคือการตีกลอง) ซึ่งมีการเส็งกลอง 2 ลักษณะ คือ การเส็งกลองร่วมกับงานบุญบั้งไฟ โดยเชื่อว่าการเส็งกลอง เป็นการเชิญเทวดา มนุษย์โลก และภูตผีมาร่วมทำบุญบั้งไฟโดยพร้อมเพรียงกัน อีกลักษณะจะเป็นการนัดหมายช่างตามหมู่บ้านต่างๆให้นำกลองมาเส็งแข่งกัน เพื่อประกวดในเรื่อง "ความดัง" กลองที่ตีได้เส้งดังที่สุด คือ มีเสียงทุ้มกลาง แหลม ครบถ้วน จะเป็นผู้ขนะการแข่งขัน ส่วนประเพณีการล่องโคมไฟ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นกันในวันออกพรรษาซึ่งเชื่อว่าหลังพระพุทธ เจ้าได้จำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครบ 3 เดือนแล้ว จึงได้ขึ้นไปเทศนาให้พระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต และลงมาเทศน์โปรดมนุษย์โลกและเมืองบาดาล ซึ่งเป็นที่พอใจของพญานาคยิ่งนัก พญานาคจึงถวายพั่งไฟพญานาค เพื่อเป็นการสักการะพระพุทธองค์ร่วมกับพญานาค และเป็นการส่งเคราะห์ร้าย รวมทั้งเป็นการขอขมาแม่พระคงคาด้วย ส่วนโคมไดหรือโดมลมที่ลอยขึ้นไปในอากาศจะเป็นการบูชาเทวดา
งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
จัดในช่วงเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ชาวเมืองเพชรบูรณ์จะมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดไปรอบเมืองจนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาดำลงไปในน้ำและโผล่ขึ้นมา ทำเช่นนี้จนครบทั้ง 4 ทิศ ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด หากปีใดไม่ได้กระทำพิธีอุ้มพระดำน้ำเชื่อกันว่าปีนั้นจะเกิดฝนแล้ง
เทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง จัดขึ้นที่ อ.หล่มสัก เป็นเทศกาลประจำปีจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม เพื่อเคารพสักการะเผยแพร่ประวัติเกียรติคุณของพ่อขุนผาเมือง ปุชนียบุคคลของชาติไทย และเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการเส็งกลอง และการล่องโคมไฟของชาวอำเภอหล่มสักให้ดำรงสืบกิจกรรมภายในงานได้แก่ พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพ่อขุนผาเมือง การแข่งขันเส็งกลอง การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งพ่อขุนผาเมือง เป็นต้น
ประเพณีการเส็งกลอง ล่องโคมไฟ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก ซึ่งมีมาแต่โบราณ มักนิยมเล่นในช่วงเทศการลเข้าพรรษา-ออกพรรษา (การเส็งกลองคือการตีกลอง) ซึ่งมีการเส็งกลอง 2 ลักษณะ คือ การเส็งกลองร่วมกับงานบุญบั้งไฟ โดยเชื่อว่าการเส็งกลอง เป็นการเชิญเทวดา มนุษย์โลก และภูตผีมาร่วมทำบุญบั้งไฟโดยพร้อมเพรียงกัน อีกลักษณะจะเป็นการนัดหมายช่างตามหมู่บ้านต่างๆให้นำกลองมาเส็งแข่งกัน เพื่อประกวดในเรื่อง "ความดัง" กลองที่ตีได้เส้งดังที่สุด คือ มีเสียงทุ้มกลาง แหลม ครบถ้วน จะเป็นผู้ขนะการแข่งขัน ส่วนประเพณีการล่องโคมไฟ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นกันในวันออกพรรษาซึ่งเชื่อว่าหลังพระพุทธ เจ้าได้จำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครบ 3 เดือนแล้ว จึงได้ขึ้นไปเทศนาให้พระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต และลงมาเทศน์โปรดมนุษย์โลกและเมืองบาดาล ซึ่งเป็นที่พอใจของพญานาคยิ่งนัก พญานาคจึงถวายพั่งไฟพญานาค เพื่อเป็นการสักการะพระพุทธองค์ร่วมกับพญานาค และเป็นการส่งเคราะห์ร้าย รวมทั้งเป็นการขอขมาแม่พระคงคาด้วย ส่วนโคมไดหรือโดมลมที่ลอยขึ้นไปในอากาศจะเป็นการบูชาเทวดา
งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
จัดในช่วงเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ชาวเมืองเพชรบูรณ์จะมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดไปรอบเมืองจนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาดำลงไปในน้ำและโผล่ขึ้นมา ทำเช่นนี้จนครบทั้ง 4 ทิศ ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด หากปีใดไม่ได้กระทำพิธีอุ้มพระดำน้ำเชื่อกันว่าปีนั้นจะเกิดฝนแล้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น